สำนักงานสัตวแพทยสภา  
   

วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์

๑) ควบคุมการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์
๒) ควบคุมความประพฤติและการดำเนินงานของผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ให้ถูกต้องตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ
     สัตวแพทย์
๓) ส่งเสริมการศึกษา การวิจัย และการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์
๔) ส่งเสริมความสามัคคีและผดุงเกียรติของสมาชิก
๕) ช่วยเหลือ แนะนำ เผยแพร่ และให้การบริการทางด้านวิชาการแก่สมาชิก รวมทั้งประชาชนและองค์กรอื่นในเรื่องเกี่ยว
     กับวิชาชีพ การสัตวแพทย์
๖) ให้คำปรึกษาหรือข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลเกี่ยวกับนโยบายและปัญหาวิชาชีพการสัตวแพทย์
๗) เป็นตัวแทนผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ของประเทศไทย
๘) ผดุงความเป็นธรรมและส่งเสริมสวัสดิการให้แก่สมาชิก
๙) ดำเนินการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

 

วิสัยทัศน์

สัตวแพทยสภา เป็นองค์การ มาตรฐานวิชาชีพการสัตวแพทย์ เพื่อประโยชน์ต่อสังคมโดยร่วมมือจากทุกภาคส่วน

 

พันธกิจ

- พัฒนาวิชาชีพการสัตวแพทย์ให้มีคุณภาพ
- พัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพ
- คุ้มครองผู้บริโภคและส่งเสริมการประกอบวิชาชีพให้เป็นไปตามมาตรฐานและมีความเป็นธรรม
- สร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

 

ปณิฐาน

สัตวแพทยสภา  ยึดมั่นมาตรฐาน  สานความร่วมมือ  ยึดถือประโยชน์ต่อสังคม

 

สัตวแพทยสภามีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
  

๑) รับขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอเป็นผู้ขอเป็นผู้ประกอบวิชา สัตวแพทยย์
๒) ทำคำสั่งตามมาตรา ๔๕
๓) รับรองปริญญา อนุปริญญา ประกาศนียบัตร อนุมัติบัตร หรือวุฒิบัตรในวิชาชีพการสัตวแพทย์ ของสถาบันต่างๆ เพื่อ
    ประโยชน์ของสมาชิก

๔) รับรองหลักสูตรต่างๆ สำหรับการฝึกอบรมเป็นผู้ชำนาญการในสาขาต่างๆ ของวิชาชีพการสัตวแพทย์ของสถาบันต่างๆ
๕) รับรองวิทยฐานะของสถาบันที่ทำการฝึกอบรมใน (๔)
๖) ออกหนังสืออนุมัติหรือให้วุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์สาขาต่างๆ และ          ออกหนังสือแสดงวุฒิอื่นในวิชาชีพการสัตวแพทย์
๗) ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสัตวแพทยสภา



               การดำเนินงานของสัตวแพทยสภายึดตามวัตถุประสงค์ และอำนาจหน้าที่ของสัตวแพทยสภาที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ถึงแม้ว่ากฏหมายจะให้อิสระต่อสัตวแพทยสภาเหมือนกับสภาวิชาชีพทั้งหลาย แต่ในตัวกฏหมายก็ได้ระบุไว้ชัดเจนว่าการดำเนินงานของคณะกรรมการสัตวแพทยสภานั้นจะต้องดำเนินการตามข้อบังคับที่ระบุในตัวกฏหมาย ๑๕ ฉบับ และในกฏหมายดังกล่าวมี ๑๑ ฉบับ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสมาชิก และประชาชนในข้อบังคับ ๑๑ ข้อนี้ได้ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาแล้วจึงมีผลบังคับใช้